เมนู

10. จรสูตร


ว่าด้วยวิตก 3 อย่าง


[290] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือ
วิหิงสาวิตก ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เดินไปอยู่ หากว่าภิกษุย่อมรับกามวิตก
พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกนั้นไว้ ไม่ละเสีย ไม่บรรเทาเสีย ไม่ทำให้
สิ้นสุดเสีย ไม่ให้ถึงความไม่มีไซร้ ภิกษุแม้เที่ยวไปอยู่เป็นอยู่แล้วอย่างนี้
เราตถาคตกล่าวว่า เป็นผู้ไม่มีความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ เกียจคร้าน มีความ
เพียรเลว ตลอดกาลเป็นนิตย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้กามวิตก พยาบาท-
วิตก หรือวิหิงสาวิตก ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ยืนอยู่...ผู้นั่งอยู่...ถ้าแม้กามวิตก
พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้นอนอยู่ ตื่นอยู่ หากว่า
ภิกษุย่อมรับกามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกนั้นไว้ ไม่ละเสีย ไม่-
บรรเทาเสีย ไม่กระทำให้สิ้นสุดเสีย ไม่ให้ถึงความไม่มีไซร้ ภิกษุแม้นอนอยู่
ตื่นอยู่ เป็นอยู่แล้วอย่างนี้ เราตถาคตกล่าวว่า เป็นผู้ไม่มีความเพียร ไม่มี
โอตตัปปะ เกียจคร้าน มีความเพียรอันเลว ตลอดกาลเป็นนิตย์.
[291] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือ
วิหิงสาวิตก ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เที่ยวไปอยู่ หากว่าภิกษุย่อมไม่รับกามวิตก
พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกนั้นไว้ ละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นสุดเสีย
ให้ถึงความไม่มีไซร้ ภิกษุแม้เที่ยวไปอยู่เป็นอยู่อย่างนี้ เราตถาคตกล่าวว่า
เป็นผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ตลอดกาล
เป็นนิตย์ ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ
ผู้ยืนอยู่...ผู้นั่งอยู่...ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก ย่อม

เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้นอนอยู่ ตื่นอยู่ หากว่าภิกษุย่อมไม่รับกามวิตก พยาบาทวิตก
หรือวิหิงสาวิตกนั้นไว้ ละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นสุดเสีย ให้ถึงความ
ไม่มีไซร้ ภิกษุแม้นอนอยู่ ตื่นอยู่ เป็นอยู่แล้วอย่างนี้ เราตถาคตกล่าวว่า
เป็นผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ตลอดกาล
เป็นนิตย์.
ภิกษุใดเที่ยวไปอยู่ ยืนอยู่ นั่งอยู่
หรือนอนอยู่ ย่อมตรึกถึงวิตกอันลามก
อันอาศัยแล้วซึ่งเรือนไซร้ ภิกษุนั้นชื่อว่า
ดำเนินไปตามทางผิดหมกมุ่นอยู่ในอารมณ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งความหลง ภิกษุเช่นนั้น
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะถูกต้องซึ่งสัมโพธิญาณ
อันสูงสุด ภิกษุใดเที่ยวไปอยู่ ยืนอยู่ นั่งอยู่
หรือนอนอยู่ สงบระงับวิตกได้แล้ว ยินดี
ในธรรมเป็นที่สงบวิตก ภิกษุเช่นนั้น
เป็นผู้ควรเพื่อจะถูกต้องซึ่งสัมโพธิญาณอัน
สูงสุด.

จบจรสูตรที่ 11

อรรถกถาจรสูตร


ในจรสูตรที่ 11 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า จรโต ได้แก่ กำลังเดินหรือกำลังจงกรมอยู่. บทว่า
อปฺปชฺชติ กามวิตกฺโก วา ความว่า ถ้าว่า คือ ผิว่า วิตกที่ประกอบ
ด้วยกามหรือ... จะเกิดขึ้นในเพราะปัจจัยเช่นนั้น เพราะยังไม่ปราศจากราคะ
ในวัตถุกามทั้งหลายไซร้. บทว่า พฺยาปาทวิตกโก วา วิหึสาวิตกฺโก วา
มีการเชื่อมความว่า ถ้าหาก วิตกที่ประกอบด้วยความพยาบาทที่มีความอาฆาต
เป็นนิมิต หรือวิตกที่ประกอบด้วยวิหิงสา ด้วยอำนาจแห่งการเบียดเบียนผู้อื่น
ด้วยก้อนดินและตะพดเป็นต้น เกิดขึ้นไซร้. บทว่า อธิวาเสติ ความว่า
ถ้าให้กามวิตกตามที่กล่าวแล้วนั้น ที่เกิดขึ้นในจิตของตนคามปัจจัยพักอาศัยอยู่
คือ ยกจิ ของตนออกไปแล้ว ให้มัน พักอาศัยอยู่ เพราะไม่มีการพิจารณา
โดยนัยมีอาทิว่า วิตกนี้ เป็นของเลวแม้ด้วยเหตุนี้ เป็นอกุศลแม้ด้วยเหตุนี้
เป็นสิ่งมีโทษแม้ด้วยเหตุนี้ ก็วิตกนั้นแล ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง
ดังนี้ไซร้ และเมื่อให้มันพักอาศัยอยู่นั่นแหละก็ยังละมันไม่ได้ คือยังสลัดออก
ไปไม่ได้ ด้วยอำนาจตทังคปหานเป็นต้น เพราะสลัดออกไม่ได้นั้นนั่นแหละ
ก็จะบรรเทาไม่ได้ คือกำจัดออกไป ได้แก่นำออกไปจากจิตสันดานไม่ได้
เพราะบรรเทาไม่ได้อย่างนั้น ก็จะทำให้สูญสิ้นไปไม่ได้ คือทำกามวิตกเป็นต้น
นั้น ให้ปราศจากที่สุดไปไม่ได้. อธิบายว่า ผู้มีความเพียรส่งใจไปแล้ว (ไม่-
อาลัยชีวิตแล้ว) จะทำโดยวิธีที่แม้ที่สุดของวิตกเหล่านั้น จะไปหรืออยู่โดยที่สุด
แม้เพียงแต่ความแตกหักไป แต่ภิกษุนี้หาทำเหมือนอย่างนั้นไม่. ผู้ศึกษาควร
ทราบเนื้อความโดยประกอบ เจ ศัพท์เข้าด้วยคำมีอาทิว่า วิตกที่เป็นอย่างนั้น